|
|||
ป้องกันไว้ก่อน...ไม่เกร็งไม่กระตุก |
|||
ภายหลังน้ำลด...ชาวบ้านต่างก็เริ่มเข้ากระชับพื้นที่ของตนเอง เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมขังมาเป็นเวลานาน |
|||
ใช่แล้วค่ะ ท่านหมายถึง “โรคบาดทะยัก” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อที่ชื่อว่า clostridium tetani โดยเชื้อนี้จะมีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น ในดิน พื้นหญ้า เศษไม้ เศษแก้ว เศษโลหะ ฯลฯ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย สารพิษ (toxin) ที่เรียกว่า tetanospasmin จะจับกับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งตลอดเวลา เชื้อฯ มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการประมาณ 5 - 14 วัน บางรายอาจนานถึง 1 เดือนหรือนานกว่านั้น โดยอาการที่ว่า ได้แก่ อาการเกร็งของกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบบาดแผล จากนั้น 1 - 7 วัน จะเกิดอาการกระตุกและเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย มีการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังเกร็งทำให้นอนแอ่นหลัง มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย กล้ามเนื้อช่วยหายใจไม่ทำงานเกิดภาวะหายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตจากภาวะหายใจวายได้ |
|||
สำนักการแพทย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพอนามัยประชาชนกรุงเทพมหานคร จึงดำเนินการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ฟรี ให้แก่ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ หรืออาสาสมัครที่ปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรได้รับวัคซีนบาดทะยัก 3 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ฉีดห่างจากเข็มแรก 1 เดือน และเข็มที่ 3 ฉีดห่างจากเข็มแรก 6 เดือน หากคุณเคยได้รับวัคซีนมาครบแล้ว 3 เข็ม แต่นานกว่า 10 ปี ควรได้รับวัคซีนกระตุ้นอีก 1 เข็ม อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนบาดทะยักที่พบบ่อย คือ อาจมีไข้ได้ มีบวมแดงที่บริเวณที่ฉีด แต่อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปภายใน 1 สัปดาห์ |
|||
ไม่จำเป็นต้องรอให้มีบาดแผล คุณสามารถป้องกันได้ก่อน โดยขอรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักได้ ณ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป | |||
|
|
||
ด้วยความปรารถนาดีจากกองวิชาการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร |
|||
ส่งข่าวโดย นายพิเชษฐ์ อินทรบุญ |